โอทอป สินค้าชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยว
กระดานเสวนา
ติดต่อ-สอบถาม
NO GlFT Policy
e-service
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  เทศบาลตำบลบุญทัน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู : www.boonthan.go.th
 
 



สภาพทั่วไป

ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลบุญทัน  อำเภอสุวรรณคูหา  จังหวัดหนองบัวลำภู

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

               1. ด้านกายภาพ

                   1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

ตำบลบุญทันตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าเก่ากลอย – นากลาง) ห่างจากอำเภอสุวรรณคูหา   เป็นระยะทางประมาณ  20  กิโลเมตร  ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 70 กิโลเมตร

                   สำนักงานเทศบาลตำบลบุญทัน  ตั้งอยู่เลขที่ 31 หมู่ที่ 9 บ้านสระแก้ว ตำบลบุญทัน อำเภอสุวรรณคูหา  จังหวัดหนองบัวลำภู    ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้

                   ทิศเหนือ                          มีอาณาเขตติดกับ      ต. บ้านหยวก     อ.น้ำโสม      จ. อุดรธานี

                   ทิศใต้                               มีอาณาเขตติดกับ      ต. ดงสวรรค์      อ.นากลาง     จ.หนองบัวลำภู

                    ทิศตะวันออก                    มีอาณาเขตติดกับ      ต. บ้านโคก       อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู

                    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ     มีอาณาเขตติดกับ      ต. ดงมะไฟ       อ.สุวรรณคูหา  จ.หนองบัวลำภู

                    ทิศตะวันตก                      มีอาณาเขตติดกับ      ต. นาดอกคำ      อ.นาด้วง        จ.เลย

                   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

                  พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลบุญทันส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ  คือ ลำห้วยโซ่  ลำห้วยคะนาน  ลำห้วยไฮ  ลำห้วยโมง ลำห้วยบุญทัน  มีอ่างเก็บน้ำลำห้วยโซ่ (อ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ)  อ่างเก็บน้ำห้วยไฮ  อ่างเก็บน้ำคลองเจริญและอ่างเก็บน้ำวัดป่าภูเซิม

                   1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

                         สภาพโดยทั่วไปจัดอยู่ในภูมิอากาศเย็นสบาย อากาศจะร้อนจัดประมาณ 2 เดือน (มีนาคม – เมษายน) เนื่องจากพื้นที่มีภูเขาล้อมรอบ คือ เทือกเขาภูซางน้อย – ภูซางใหญ่ อากาศจะหนาวเย็นสบายในช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์  ฤดูฝนจะเริ่มเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม

                   1.4 ลักษณะของดิน

                         ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน  ดินเหนียว  มีพื้นที่ราบสลับกับเนินเขา ดินเหมาะสำหรับทำการเกษตร

                   1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

     อ่างเก็บน้ำ  4  แห่ง ได้แก่  อ่างเก็บน้ำห้วยโซ่  อ่างเก็บน้ำห้วยไฮ  อ่างเก็บน้ำคลองเจริญ  และอ่างเก็บน้ำวัดป่าภูเซิม 

             ฝายน้ำล้น                                    13  แห่ง

             สระน้ำสาธารณะ                              5  แห่ง

             บ่อน้ำบาดาล                                11  แห่ง

                   1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้      

                         เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำมีบางส่วนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ 

 

               2. ด้านการเมือง/การปกครอง

                   2.1 เขตการปกครอง

          ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลบุญทัน มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 9 หมู่บ้าน
จำนวน 1,798  ครัวเรือน   ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านบุญทัน                 นายบุญปอง  จันดาแพง       เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่ 1

หมู่ที่ 2 บ้านบุญทัน                 นายสุขพล  คณะวาปี           เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่ 2

          หมู่ที่ 3 บ้านน้ำโมง                 นายสมพงษ์  แสงโพธิ์         เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่ 3

หมู่ที่ 4 บ้านแสงอรุณ               นายวชิระ  เนียมทา            กำนันตำบลบุญทัน

หมู่ที่ 5 บ้านคลองเจริญ            นางสาวพลพิศ  ดาธรรม       เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่  5

หมู่ที่ 6 บ้านคลองเจริญ            นายนิคม  ภาคโพธิ์             เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่  6

หมู่ที่ 7 บ้านโคกนกพัฒนา         นายคำสิงห์  แฝงสีพล         เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่  7

หมู่ที่ 8 บ้านโคกนกสาริกา         นายอุทัย  พุธโก                 เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่ 8

  หมู่ที่ 9 บ้านสระแก้ว               นายครรชิต  ศรีอุดร            เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่  9

                   2.2 การเลือกตั้ง

                   การเลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบลบุญทัน แบ่งออกเป็น  2  เขตเลือกตั้ง  ดังนี้

               เขตเลือกตั้งที่  1   ได้แก่  หมู่ที่  1  หมู่ที่ 2  หมู่ที่ 3  หมู่ที่  4  หมู่ที่  9

               เขตเลือกตั้งที่  2   ได้แก่  หมู่ที่ 5   หมู่ที่ 6  หมู่ที่ 7  หมู่ที่  8

                        

               3. ประชากร

                   3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร     

                เพศชาย   จำนวน  3,030  คน    เพศหญิง   จำนวน  2,957  คน รวมเป็น  5,987  คน   จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  1,798  ครัวเรือน

             4. สภาพทางสังคม    

                   4.1 การศึกษา

          ในเขตเทศบาลตำบลบุญทันศูนย์บริการการศึกษาและสถานศึกษา  8  แห่ง  ดังนี้

4.2 สาธารณสุข

           ในเขตเทศบาลตำบลบุญทันมีสถานีอนามัยหรือศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนหรือโรงพยาบาล  ดังนี้

ครัวเรือนในเขตเทศบาตำบลบุญทันมีอัตราการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ  100 %

                   4.3 อาชญากรรม

                         ไม่มีประวัติอาชญากรรมในพื้นที่

 

                   4.4 ยาเสพติด

                         ตำบลบุญทัน  มีพื้นที่ที่เชื่อมต่อของจังหวัดและมีพื้นที่ห่างไกลทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของยาเสพติด  ซึ่งพบได้จากการตรวจจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจภายในเขตตำบลบุญทัน พบทั้งผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด

                   4.5 การสังคมสงเคราะห์ 

                         ตำบลบุญทัน  มีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือกับผู้พิการ  ผู้สูงอายุ  ผู้ด้อยโอกาส  และผู้ยากไร้ จากเทศบาลตำบลบุญทัน  สำนักงานพัฒนาสังคม   สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  สำนักงานกาชาดจังหวัดหนองบัวลำภู  องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู  กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู

 

               5. ระบบบริการพื้นฐาน

                   5.1 การคมนาคมขนส่ง

  ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านในเขตเทศบาล   1  สาย

    ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน  มี 45 สาย  ดังนี้

            1) บ้านบุญทัน หมู่ที่ 1                         4 สาย

            2) บ้านบุญทัน หมู่ที่ 2                         3 สาย

            3) บ้านน้ำโมง หมู่ที่ 3                          3 สาย

            4) บ้านแสงอรุณ หมู่ที่ 4                       3 สาย

            5) บ้านคลองเจริญ หมู่ที่ 5                    5 สาย

            6) บ้านคลองเจริญ หมู่ที่ 6                    6 สาย

            7) บ้านโคกนกพัฒนา  หมู่ที่ 7               8  สาย

            8) บ้านโคกสาลิกา  หมู่ที่ 8                   6 สาย

            9) บ้านสระแก้ว  หมู่ที่ 9                       7 สาย

            10) ถนนลูกรังเพื่อการเกษตร                50  สาย

                   5.2 การไฟฟ้า

ไฟฟ้าแสงสว่างในครัวเรือน จำนวน  9  หมู่บ้าน  ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้

จำนวน  1,791  ครัวเรือน  ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นครัวเรือนที่ขยายที่อยู่อาศัยออกจากชุมชนดั้งเดิม

                     ไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ  196  จุด

                   5.3 การประปา

                         ระบบประปาหมู่บ้าน                         7  แห่ง

                   5.4 โทรศัพท์

                         ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                       -  แห่ง

                   5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

                         ที่ทำการไปรษณีย์                         1  แห่ง (ที่ทำการอนุญาตเอกชน)

               6. ระบบเศรษฐกิจ

                   6.1 การเกษตร

                         ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก  ประกอบด้วย  ยางพารา  อ้อย  มันสำปะหลัง  ข้าวโพด  เงาะ  ลำไย  ปลูกไผ่เลี้ยง ฝรั่งกิมจู

                   6.2 การประมง

                        -

                   6.3 การปศุสัตว์

                         ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับอาชีพหลัก   ประกอบด้วย  เลี้ยงหมู  เลี้ยงไก่ไข่  เลี้ยงไก่พันธ์พื้นเมือง   เลี้ยงเป็ด  เลี้ยงปลา

                   6.4 การบริการ

                         มีปั้มน้ำมัน  จำนวน  3  แห่ง    

                         มีโรงสีข้าว   จำนวน  5  แห่ง

                   6.5 การท่องเที่ยว 

                         ในพื้นที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  ดังนี้  อ่างเก็บน้ำห้วยโซ่ (อ่างเก็บน้ำโคกนกฯ)   มีทิวทัศน์ที่สวยงาม  เป็นสถานที่น่าพักผ่อน   สันเขาภูซาง   จะมองเห็นทิวทัศน์ภูเขาสลับซับซ้อนสวยงาม

 

                   6.6 อุตสาหกรรม

                         ตำบลบุญทันไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่

                   6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

    1) กลุ่มเย็บผ้า                                              จำนวน  12 กลุ่ม

                        2) กลุ่มปลูกยางพารา                                     จำนวน   3 กลุ่ม

                        3) กองทุนสวัสดิการชุมชน                               จำนวน   1 กลุ่ม

                        4) กลุ่มปลูกพืชและผักปลอดสารพิษ                  จำนวน   1 กลุ่ม

                        5) กลุ่มจัดทำพลังงานชีวมวล                           จำนวน   1 กลุ่ม

                        6) กลุ่มปลูกกาแฟ                                         จำนวน   1 กลุ่ม

                        7) กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ                                         จำนวน   1 กลุ่ม

                   6.8 แรงงาน

                         ....................................................................................................................................................

               7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

                   7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

     หมู่ที่   1   บ้านบุญทัน  จำนวนประชากรทั้งหมด 412  คน  136  ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 3,125  ไร่

     หมู่ที่  2 บ้านบุญทัน  จำนวนประชากรทั้งหมด  496  คน  155  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  6,875  ไร่

     หมู่ที่  3  บ้านน้ำโมง  จำนวนประชากรทั้งหมด  495  คน  143  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  5,000  ไร่

     หมู่ที่  4  บ้านแสงอรุณ   จำนวนประชากรทั้งหมด  738  คน  218  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  5,000  ไร่

     หมู่ที่  5  บ้านคลองเจริญ   จำนวนประชากรทั้งหมด  839  คน  246  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  6,250  ไร่

      หมู่ที่  6  คลองเจริญ   จำนวนประชากรทั้งหมด  676  คน  183  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  4,375  ไร่

      หมู่ที่  7  บ้านโคกนกสาริกา   จำนวนประชากรทั้งหมด  1,116  คน  349  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  8,125  ไร่

      หมู่ที่  8  บ้านโคกนกพัฒนา   จำนวนประชากรทั้งหมด  552  คน  164  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  6,250  ไร่

      หมู่ที่  9  บ้านสระแก้ว   จำนวนประชากรทั้งหมด  663  คน  204  ครัวเรือน  พื้นที่ทั้งหมด  5,000  ไร

 

 

                   7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

           การทำนา  เกษตรกรประกอบอาชีพการทำนาส่วนใหญ่ จะอยู่นอกเขตชลประทาน  โดยมีเกษตรกรในพื้นที่  ทำนาปี     จำนวน  263  ครัวเรือน  รวมจำนวน 1,828  ไร่   เฉลี่ยผลผลิต  446  กิโลกรัมต่อไร่     ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย  4,251 บาทต่อไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย   7,200  บาทต่อไร่

         การทำสวน  เกษตรกรประกอบอาชีพการทำสวน  เช่น  การทำสวนยางพารา  กล้วยน้ำว้า  เงาะโรงเรียน  ฝรั่งกิมจู  ไผ่เลี้ยง  กาแฟ  ลำไย  และมะเขือเปราะ   โดยมีเกษตรกรในพื้นที่ทำสวน  จำนวน  301  ครัวเรือน  รวมจำนวน 5,191  ไร่   เฉลี่ยผลผลิต  1,869  กิโลกรัมต่อไร่     ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย  4,901 บาทต่อไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย   38,879  บาทต่อไร่

         การทำไร่  เกษตรกรประกอบอาชีพการทำไร่  เช่นไร่อ้อย  ไร่ข้าวโพด  ไร่มันสำปะหลัง โดยมีเกษตรกรในพื้นที่ทำไร่  จำนวน  310  ครัวเรือน  รวมจำนวน 2,988  ไร่   เฉลี่ยผลผลิต  2,486  กิโลกรัมต่อไร่     ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย  4,668 บาทต่อไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย   9,314  บาทต่อไร่

        

                   7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

         แหล่งน้ำธรรมชาติ  ห้วยคะนาน  ห้วยโมง  ห้วยโซ่  ห้วยไฮ

                         แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น  อ่างเก็บน้ำห้วยไฮ  อ่างเก็บน้ำห้วยโซ่ อ่างเก็บน้ำบ้านบุญทัน  อ่างเก็บน้ำบ้านคลองเจริญ    อ่างเก็บน้ำวัดป่าภูเซิม

                          

                   7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)     มีทั้งสิ้น  5  จุด  ดังนี้

                 1.น้ำประปา  หมู่ที่ 4 

                 2.น้ำประปา หมู่ที่ 9  แบบใช้น้ำผิวดิน

                 3.น้ำประปา  หมู่ที่ 9 แบบใช้น้ำใต้ดิน 

                 4.น้ำประปา หมู่ที่ 5 

                 5.น้ำประปา  หมู่ที่ 7

 

               8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                   8.1 การนับถือศาสนา

                         ประชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

                   8.2 ประเพณีและงานประจำปี

                 ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบุญทันส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอีสานดั้งเดิมอยู่ คือ ฮีตสิบสอง  คองสิบสี่  วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญและถือปฏิบัติให้เห็นเด่นชัดได้แก่ 

  1. ประเพณีการทำบุญทอดกฐิน  ชาวบ้านในชุมชนจะร่วมกันจัดทำขึ้นหลังออกพรรษาแล้ว  เพื่อถวายเครื่องกฐินให้แก่วัดที่อยู่ภายในเขตชุมชน

            2) ประเพณีบุญข้าวจี่  จัดทำหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ  ประมาณเดือนสาม  หรือช่วงเดือนกุมภาพันธ์

            3) ประเพณีบุญมหาชาติ  หรือภาษาถิ่นเรียกว่าบุญพระเวช  จัดทำเดือนสี่  หรือช่วงเดือนมีนาคม

            4) ประเพณีสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย  จัดทำเดือนห้า  หรือเดือนเมษายน

            5) ประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นการบูชาองค์เทวดาหรือองเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวนา   ชาวไร่ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก  จัดทำในเดือนหก  หรือเดือนมิถุนายน

            6) ประเพณีวันเข้าพรรษา  จะมีการถวายเทียนพรรษาทุกวัดในเขตเทศบาลตำบลบุญทัน

            7) ประเพณีวันออกพรรษา  จะมีการทำบุญตักบาตรเทโว

            8) ประเพณีลอยกระทง  จะมีการลอยกระทงและทำพิธีบูชาและขอโทษพระแม่คงคา  ซึ่งบางปีก็จะมีการจัดงานประกวดนางนพมาศ  จัดทำในเดือนสิบสองหรือช่วงเดือนพฤศจิกายน

            9) ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่  ซึ่งประชาชนจะร่วมกันทั้งตำบลและหมุนเวียนไปจัดทุกวัดที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบุญทัน

                   8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

                       ประชาชนในพื้นที่มาจากหลากหลายจังหวัด  ซึ่งจะแตกต่างกันในการออกเสียงของแต่ละพื้นที่   เช่น

เลย  อุบลราชธานี   ฯลฯ

                   8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                          ผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้งป่าภูซาง   หน่อไม้ดองล่องป่าปุ่น   กล้วยอบเนย  กาแฟภูซาง  เครื่องจักรสาน  ออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่องพร้อมพัฒนาและต่อยอดในรูปแบบต่างๆ

               9. ทรัพยากรธรรมชาติ

                   9.1 น้ำ

                         มีแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ  คือ  ลำห้วยโซ่  ลำห้วยคะนาน  ลำห้วยไฮ  ลำห้วยโมง ลำห้วยบุญทัน อ่างเก็บน้ำลำห้วยโซ่ (อ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ)  อ่างเก็บน้ำห้วยไฮ อ่างเก็บน้ำคลองเจริญและอ่างเก็บน้ำว่าป่าภูเซิม พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน

                   9.2 ป่าไม้

                         มีป่าไม้ชุมชนในพื้นที่ หมู่ที่  9 

                   9.3 ภูเขา

                         มีภูเขาล้อมรอบ  คือเทือกเขาภูซางน้อย – ภูซางใหญ่  

                   9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 465969 คน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 - ปัจจุบัน